-
การติดตั้งตู้เย็นอย่างถูกต้อง
การติดตั้งตู้เย็นอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ตู้เย็นมีอายุการใช้งานเพิ่มมากขึ้น และยังช่วยป้องกันอันตรายอันเกิดจากตู้เย็นได้อีกด้วย1. ควรตั้งตู้เย็นในที่เรียบและสม่ำเสมอ ถ้าตั้งในที่ไม่เรียบจะทำให้ตู้เย็นสั่นและมีเสียงดัง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตู้เย็นเคลื่อนที่เวลาเปิดประตูตู้เย็น2. ควรติดตั้งในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ด้านหลังห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ด้านบนควรห่างจากเพดานไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร ด้านข้างทั้งสองข้างห่างจากผนังไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร3. ไม่ควรตั้งตู้เย็นในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ที่มีแสงแดดส่อง ใกล้เตาแก๊ส ตู้อบ4. ไม่ควรตั้งตู้เย็นในที่อับชื้น ที่มีน้ำกระเด็นถึงหรือใกล้อ่างล้างมือ5. ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟฟ้าร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ -
เมื่อไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าภายในบ้านตก ควรปฏิบัติอย่างไรกับตู้เย็น
ข้อสังเกต เมื่อไฟฟ้าภายในบ้านตก สังเกตจากการหรี่ของหลอดไฟฟ้า ตู้เย็นทำงานผิดปกติ เช่น มีเสียงดังผิดปกติการแก้ปัญหาเบี้องต้น ถอดปลั๊กตู้เย็นออก ไม่ควรเสียบปลั๊กไฟฟ้าทันที ควรรอเวลาอย่างน้อย 15 นาทีจึงเสียบปลั๊กไฟฟ้าใหม่ เนื่องจากภายในตู้เย็นหลังจากตัดกระแสไฟฟ้าแล้วจะยังมีแรงดันสูงอยู่ภายใน ระบบทำความเย็น เมื่อเสียบปลั๊กไฟฟ้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะอัดแรงดันเพื่อเริ่มต้นการทำงาน ซึ่งจะต้องทำงานหนักมาก จนอาจเกิดชำรุดที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ได้ จึงควรปล่อยให้แรงดันลดลงก่อนจึงเสียบปลั๊กไฟฟ้า เพื่อให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ง่ายขึ้น -
การใช้งานและการดูแลรักษาตู้เย็น
1. ไม่ควรถอดหรือเสียบปลั๊กตู้เย็นในเวลาสั้นๆ เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้คอมเพรสเซอร์เสียบหายได้ เช่น คอมป์น็อค ลูกสูบติด
2. อย่าราดน้ำลงบนตู้เย็นทั้งภายในและภายนอก เพราะจะทำให้เกิดสนิมและไฟฟ้าอาจรั่วได้
3. ห้ามใช้เบนซินหรือทินเนอร์เช็คทำความสะอาดตู้เย็น เพราะจะทำให้สีที่เคลือบลอกออก ควรใช้ผ้าชุบน้ำสบู่ทำความสะอาดภายในและภายนอก
4. ควรปิดประตูตู้เย็นให้สนิทและไม่เปิดหรือปิดตู้เย็นบ่อยๆซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของตู้เย็น และยังเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
5. ควรเก็บอาหารหรือแช่ของในตู้เย็นให้มีช่องว่างสำหรับถ่ายเทความเย็นอย่างสม่ำเสมอ อย่าวางสิ่งของกีดขวางช่องระบายลมเย็น เพราะจะทำให้ความเย็นลงมาน้อย
6. ไม่ควรแช่อาหารหรือสิ่งของที่มีความร้อนในตู้เย็น เพราะอาจทำให้สิ่งของที่อยู่รอบข้างเสียหายได้ และเป็นการเพิ่มภาระงานให้แก่คอมเพรสเซอร์ของตู้เย็น และถ้าต้องการทำน้ำแข็งให้เทน้ำใส่ถาดทำน้ำแข็ง ระวังอย่าให้ล้น แล้วใส่ถาดทำน้ำแข็งเข้าไปในช่องทำน้ำแข็ง เมื่อต้องการใช้น้ำแข็งให้บิดถาดน้ำแข็ง ไม่ควรหักหรืองอที่ใส่น้ำแข็ง เพราะจะทำให้ถาดทำน้ำแข็งเสียหายได้
7. ยางแม่เหล็ก (GASKET) ควรทำความสะอาดบ่อยๆโดยใช้แปรงอ่อนๆจุ่มน้ำสบู่ถูเบาๆแล้วใช้ชุปน้ำหมาดๆเช็ดให้แห้ง ในกรณีที่ยางประตูที่ใช้งานมานานและยางประตูแข็ง จะต้องเปลี่ยนอันใหม่ เนื่องจากยางปรตูที่แข็งจะไม่ค่อยดูดกับตัวตู้ จึงทำให้ความเย็นออกมานอกตู้เย็น ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก และต้องเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าปกติ
8. ถาดรองน้ำทิ้งหลังตู้ หากปล่อยให้น้ำแข็งเกาะหนาเกินไป เมื่อกดละลายจะทำให้มีน้ำไหลลงถาดรองน้ำทิ้งมากเกินไปที่จะรองรับและระเหยอัตโนมัติได้จึงจำเป็นที่ผู้ใช้ต้องถ่ายเทน้ำจากถาดรองรับทิ้งด้วย
9. การละลายน้ำแข็ง ควรละลายน้ำแข็งเมื่อมีน้ำแข็งจับที่ผิวของช่องแช่แข็งหนาปิดปุ่มพลาสติกสีแดง เมื่อกดปุ่มละลายระบบทำความเย็นจะหยุดทำงาน เมื่อน้ำแข็งละลายหมด ให้ถอดถาดรองน้ำทิ้งออกไปเททิ้งและทำความสะอาดจากนั้นประกอบเข้าที่เดิมให้สนิท -
เมื่อไม่ใช้ตู้เย็นเป็นเวลานานๆควรปฏิบัติอย่างไร
1. นำสิ่งของออกจากตู้เย็นให้หมดแล้วถอดปลั๊กไฟฟ้าออก2. ทำความสะอาดตู้เย็น เช็ดให้แห้งและปิดประตูตู้เย็นไว้ตามปกติ -
การเคลื่อนย้ายตู้เย็นต้องปฏิบัติดังนี้
1. ถอดปลั๊กตู้เย็นออก2. ถ้าย้ายสถานที่ใหม่ควรบรรจุหีบห่อให้เรียบร้อย3. ห้ามวางหรือขนย้ายตู้เย็นในลักษณะนอนราบหรือเอียงได้ไม่เกิน 45 องศา -
อาการผิดปกติของประตูตู้เย็น
1. ปิดประตูไม่ได้หรือปิดไม่สนิท2. มีความเย็นรั่วไหลออกตรงซีลยางประตู ใช้หลังมือแนบใกล้ๆกับซีลยางประตูตู้เย็นรอบด้านเพื่อตรวจสอบว่ามีการรั่ว ไหลของความเย็นที่จุดใดสาเหตุ1. ซีลยางประตูตู้เย็นชำรุดหรือหลุดออกมาจากกรอบประตู2. ประตูตู้เย็นเสียรูปหรือชำรุด3. ยึดประตูตู้เย็นไม่แน่นหรือผิดตำแหน่งการแก้ไข1. กดยางประตูให้สนิทกับกรอบประตูทุกด้าน หรือเปลี่ยนซีลยางประตูตู้เย็น2. ปรับจุดยึดประตูตู้เย็น3. หากปรับไม่สำเร็จ ให้ทำการเปลี่ยนประตูชิ้นใหม่ -
ด้านข้างของตู้เย็นทำไมจึงร้อน
สาเหตุเพราะว่า ด้านข้างตู้เย็นซ้ายและขวามีคอนเดนเซอร์(Condensor) ทำหน้าที่ให้น้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊สกลั่นตัวเป็นของเหลวด้วยการระบายความ ร้อนออกจากน้ำยานั้น กล่าวคือ น้ำยาในสถานะแก๊ส อุณหภูมิสูง ความดันสูง ซึ่งถูกอัดส่งมาจากคอมเพรสเซอร์เมื่อถูกระบายความร้อนแฝงออกจะกลั่นตัวเป็น ของเหลว แต่ยังคงมีความดันและอุณหภูมิสูงอยู่ ซึ่งจะมีผลทำให้ด้านข้างของตู้เย็นทั้งด้านซ้ายและด้านขวามีความร้อนในขณะ ที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน -
ตู้เย็นไม่ทำงาน
ข้อสังเกต ไฟเข้าหรือไม่ สังเกตจากหลอดไฟส่องสว่างติดหรือไม่ ถ้าไฟส่องสว่างภายในตัวตู้ติด แต่คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานต้องแจ้งช่างผู้ชำนาญเข้าตรวจสอบ -
ตู้เย็นความเย็นไม่เพียงพอ-เย็นน้อย
1. ปุ่มปรับอุณหภูมิอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม2. ไฟฟ้าตก3. บรรจุของในตู้เย็นมากเกินไป4. ฝาหรือประตูปิดไม่สนิท หรือแถบแม่เหล็กที่ฝาหรือปร้ะตูตู้เย็นเสื่อม5. ตู้เย็นตั้งอยู่จุดอับหรือุณหภูมิสูงเกินไป -
ตู้เย็นมีเสียงดัง
1. ติดตั้งตู้เย็นในที่เอียง พื้นที่ติดตั้งไม่เรียบหรือไม่สม่ำเสมอ2. บริเวณใกล้ตู้เย็นมีการสั่นสะเทือนหรือไม่มั่นคง3. ถ้าเสียงดังจากคอมเพรสเซอร์หรือพัดลม เกินระดับปกติแจ้งช่างผู้ชำนาญการเข้าตรวจสอบ -
ตู้เย็นเย็นจัดเกินไป
1. ปุ่มปรับอุณหภูมิถูกปรับสูงเกินไป2. อาหารหรือสิ่งของที่แช่มีความชื้นสูง เมื่ออาหารสัมผัสกับอากาศเย็นจัดจะทำให้ความชื้นนั้นแข็งตัว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเครื่องผิดปกติ -
มีไอน้ำเกาะข้างตู้เย็น
ในบางครั้งอาจมีไอน้ำเกาะข้างตู้เย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความชื้นสัมพัทน์ในอากาศสูง ให้ใช้ผ้าแห้งเช็คทำความสะอาด